วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การ Set วอลเลย์บอล

ทักษะสำคัญอีกทักษะหนึ่งในการเล่นวอลเลย์บอลคือการเล่นลูกมือบนหรือการเซต ตอนนี้จะได้นำเอาแบบฝึกการเล่นลูกมือบนสำหรับฝึกเด็กนักกีฬาที่เริ่มหัดเล่น โดยกระบวนการจะเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานเพื่อให้ผู้ฝึกสอนสามารถนำไปฝึกหัดนักกีฬาได้อย่างเป็นขั้นตอน

ขั้นตอนการฝึกเล่นลูกมือบน

1. ลักษณะการวางมือและการสัมผัสบอล

ผู้ฝึกสอนควรจัดท่าทางนักกีฬาให้ถูกต้อง

2. การสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอล
วิธีที่ 1 เลี้ยงบอลด้วย 2 มือ




วิธีที่ 2 จับลูกบอลขึ้นจากพื้นในท่าทางการเซต



วิธีที่ 3 ขว้างลูกบอลด้วยมือเดียว


3. การจัดท่าทางตำแหน่งการเซต
ขั้นที่ 1



ทุ่มลูกบอลลงพื้นแล้วเคลื่อนที่ไปจับลูกบอลในท่าทางการเซตโดยให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะ

ขั้นที่ 2 โยนลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะแล้วจับลูกบอลในท่าการเซต





วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันวิทยาศาสตร์

18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ



พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์แห่งชาติไทย"
ความเป็นมาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี ให้มีวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" วันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้เป็นเพราะพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ต่อไปมาศึกษาที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

รัชกาลที่ 4 กับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทยในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา"(ปักขคณนาคือวิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง และถือเป็นเหตุของที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกทางหนึ่ง


สถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ เนื่องในการสถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึงบิดาแห่งวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ภาพกิจกรรมเนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

กิจกรรมวันงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554

ร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกันดารานักแสดง

นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์












วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ




คำขวัญพระราชทาน เนื่องใน วันแม่แห่งชาติ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานคำขวัญเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติซึ่งมีใจความสำคัญดังนี้

คำขวัญวันแม่

"แผ่นดินนี้ แม่ของลูก ใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าว ที่เดินซ้ำ ย่ำหว่านไถ
บำรุงดิน จนอุดม สมดังใจ หวังนาไทย เป็นของไทย ไปนิรันดร์"

คำขวัญวันแม่ ปี53
แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง
ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร
เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่
เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม

คำขวัญวันแม่ ปี51
เมื่อเกิดมาอาศัยถิ่นแผ่นดินไหน
หากคนไทยรู้ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ควรมีใจกตัญญูรู้คุณถิ่น
จักไม่มีวันสิ้นแผ่นดินไทย

คำขวัญวันแม่ ปี50
ข้าวในนาปลาในน้ำคำโบราณ
ฝากลูกไทยร่วมห่วงแหนรักแผ่นดิน
คือตำนานความอุดมสมบูรณ์สิน
ถนอมไว้อย่าให้สิ้นแผ่นดินไทย

คำขวัญวันแม่ ปี49
รักในหลวงพร้อมใจใส่เสื้อเหลือง
ใส่สีเดียวแล้วใจเดียวกลมเกลียวกัน
รักบ้านเมืองจงน้อมใจให้สร้างสรรค์
รักเช่นนั้นชาติของตนจึงพ้นภัย

คำขวัญวันแม่ ปี48
ดุจดังแม่ผู้ประเสริฐบังเกิดเกล้า
ทุกคำข้าวคือสินแผ่นดินไทย
เลี้ยงเราทุกคนมาจนใหญ่
ควรตรองใจทดแทนคุณแผ่นดิน

คำขวัญวันแม่ ปี47
เลี้ยงลูกมาอย่างน้อยเจ็ดร้อยปี
ให้อยู่ดีกินดีมีสุขถ้วน
แม้มีใจกตัญญูรู้การควร
ไทยทั้งมวลจงตอบแทนคุณแผ่นดินและ
แผ่นดินไทยให้ชีวิตจิตวิญญาณ
เลี้ยงสังขารลูกไทยจนใหญ่กล้า
เทียบพระคุณของท่านคือมารดา
จงรักษาและทดแทนคุณแผ่นดิน

คำขวัญวันแม่ ปี46
สามร้อยหกสิบห้าวันคือวันแม่
สม่ำเสมอสมัครจิตคิดคำนึง
มิใช่แค่วันใดให้นึกถึง
เหมือนแม่ซึ่งรักลูกครบทุกวัน

คำขวัญวันแม่ ปี45
แม่คือพระประจำอยู่ในบ้าน
พระคุณแม่เลิศล้ำเกินรำพัน
บูชาท่านไว้เถิดเกิดมิ่งขวัญ
แม่จึงเป็นคนสำคัญทุกวันไป

คำขวัญวันแม่ ปี44
พระองค์แรกผู้แสนดีให้ชีวิต
หมอคนแรกผู้ถือช้อนคอยป้อนยา
ครูคนแรกผู้ประสิทธิ์การศึกษา
รวมคุณค่านี้ได้แก่แม่เราเอง”

ประวัติความเป็นมาของวันแม่
วันแม่แห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่12สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยริเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2519โดยคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน



สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกล และหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้ กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ วันที่12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติและกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่คือดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
การที่ใช้ ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อ ลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ

ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย"

คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา